บทที่ 1 ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์,ประเภทของซอฟต์แวร์

ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์
          
                ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
           
           ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ



ตัวอย่างซอฟต์แวร์ต่างๆที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 


ประเภทของซอฟต์แวร์

        ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

        1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรองเมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ

        2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ



        ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระการแสดงผลบนจอภาพการนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มการเรียกค้นข้อมูลการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดีคือระบบปฏิบัติการ (operating System) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น


ระบบปฏิบัติการ

        ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ (input/output device) 
บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม (platform) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน 
เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ
        
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ

1.การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
2.การจัดตารางงาน
3.การติดตามผลของระบบ
4.การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
5.การจัดแบ่งเวลา
6.การประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน
            
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่สำคัญควรรู้มีดังนี้

          1) ดอส (DOS : Disk Operating system) เป็นระบบประฏิบัติการที่ใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรในการจัดการระบบงาน
          2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาการมาจากดอส ซึ้งผู้ให้สามารถสั่งงานด้วยเมาส์ร่วมกับการใช้แผนแป้นอักขระทำงานหลายงานพร้อมกันได้ และใช้งานได้ง่ายโดยเน้นรูปแบบการใช้ปุ่มคำสั่งแบบกราฟอกในการติดต่อกับผู้ใช้งาน ด้วยเหตุนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีการพัฒนาความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยผลิตซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ออกมาให้ใช้งาน เช่น Windows NT , Windows Vista , Windows 7 , Windows 8
          3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาเพื่่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน และสามารถทำงานหลาย ๆ งานได้ในเวลาเดียวกันอีกด้วย
          4) ลินุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ได้รับความนิยมเพราะมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ ที่ทำงานบนระบบลินุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ในกลุ่่มของกะนู (GNU : GNU's Not Unix) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เสรีที่ทุกคนสามารถนำไปใช้แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
          5) แมคอินทอช (Macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในงานเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ นิตยสาร แผ่นพับ ใบปลิว เป็นต้น

   
ตัวแปลภาษา 
            เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง เช่น ภาษาปาสกาล ภาษาเบสิก ภาษาซี ภาษาโลโก ภาษาจาวา ภาษาโคบอล ให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งได้ ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงทุกภาษาจึงต้องมีตัวแปลภาษาที่ทำงานร่วมกัน

            ตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์

1) คอมไพเลอร์ (compiler) ทำงานโดยแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่่องก่อน แล้วจึงทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่่องนั้้น คอมไพเลอร์ที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาซี ตัวแปลภาษาปาสกาล
2) อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) ทำงานโดยแปลโปรแกรมทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงแปลคำสั่งลำดับต่อไป อินเทอร์พรีเตอร์ที่รุ้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโลโก ตัวแปลภาษาโคบอล

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

          ซอฟแวร์ประยุกต์ใช้งานทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนอ เป็นต้น 
         
ซอฟต์แวร์สำเร็จที่นยมใช้มี 6 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
             

          1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร 



          2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตาราง


          3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น ไมโครซอฟต์เเอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟอกซ์เบส ดีบีทู         


          4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ ภาพนิ่ง ตาราง และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ โอเพนออฟฟิศอิมเพรส


          5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) 
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก


          6)ซอฟต์แวร์กราฟิก (graphic Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง ออกแบบ วาดหรือจัดแต่งเอกสารและรูปภาพได้รวดเร็ว มีคุณภาพและง่ายมากมายต่อการนำไปใช้ เนื่องจากมีคำสั่งและเครื่องมือที่แตกต่างจากซอฟต์แวร์อื่น ๆ ให้เลือกใช้งานมากมาย ตัวอย่างซอฟต์แวร์กราฟิก เช่น เพนต์อะโดบีโฟโตช็อป อะโดบีอิลลัสเทรเตอร์ ออโตแคด โปรเดสก์ท็อป



 ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน

          ซอฟแวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application software for specific purpose) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟแวร์ที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ หรือพัฒนาโดยฝ่ายบุคากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือ สร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของประชาชน เป็นต้น

        1 )ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ (business software) การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป เเต่อาจจะนำมาประยุกต์ใช้โดยตรงกับงานธุรกิจบางอย่างได้ เช่น กิจธนาคาร มีการฝาก-ถอน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงมีการพัฒนาซอฟตืแวร์ใช้งานเฉพาะ สำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจมักจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น แล้วจึงจัดทำขึ้นโดยทั่วไปจะเป็นซอฟตืแวร์ที่มีหลายส่วนทำงานร่วมกัน ซอฟตืแวร์ที่ใช้งานที่ใช้กันในธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบจัดจำหน่าย ระบบงานสินค้าคงคลัง ระบบงานบริหารการเงิน เป็นต้น


         2) ซอฟต์แวร์อื่นๆ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานนอกจากจะเป็นซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจเเล้ว ยังมีซอฟต์แวร์อื่นๆ อีกเช่น โปรเเกรมช่วยค้นหาคำศัพท์ โปรแกรมเพื่อความบันเทิง เป็นต้น


          นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะจะพบได้ในรูปแบบวอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เช่น เกมต่อคำศัพท์  เกมจับผิดภาพ เกมซุโดกุ



ตัวอย่าง เกมซูโดกุ


ตัวอย่าง เกมต่อคำศัพท์


ความคิดเห็น